ภาพที่ 1  ดาวพลูโต      ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ.2473 โดยบังเอิญ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโตเล็กเกินกว่า ที่จะรบกวนวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหา ดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอนเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่

Read More

ภาพที่ 1 ดาวเสาร์         ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกล สังเกตดาวเสาร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2153 และพบลักษณะที่เป็นวงรี คล้ายกับเป็นดาวเคราะห์ที่มีหูสองข้าง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2202  คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าเป็นวงแหวนของดาวเสาร์ เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว ในระบบสุริยะ ที่มีวงแหวน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง ที่ได้มีการค้นพบวงแหวนบางๆ รอบดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี และดาวเนปจูน           ดาวเสาร์ถูกเยียมเยือนครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์

Read More

ภาพที่ 1 ดาวศุกร์          ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 และไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต           ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปดาวศุกร์คือ มาริเนอร์ 2 ใน พ.ศ.2505  หลังจากนั้นก็มีอีกหลายลำ จนกระทั่งในปี

Read More

ภาพที่ 1 ดาวหาง         ดาวหางประกอบด้วยฝุ่นและน้ำแข็งสกปรก เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งจะระเหิดกลายเป็นหาง ก๊าซและหางฝุ่นให้เราเห็นเป็นทางยาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นก็จะวนเวียนอยู่ภายในระบบสุริยะ แต่ดาวหางส่วนใหญ่จะมาจากบริเวณขอบนอกของระบบสุริยะที่เรียกว่า แถบคุยเปอร์ (Kuiper’s belt) ที่เป็นบริเวณตั้งแต่ วงโคจรของดาวพลูโตออกไป เป็นระยะทาง 500 AU จากดวงอาทิตย์ และเมฆออร์ต (Oort Cloud) ที่อยู่ถัดจากแถบคุยเปอร์ออกไปถึง 50,000 AU จากดวงอาทิตย์การเกิดหางของดาวหาง เมื่อดาวหางอยู่ที่บริเวณขอบนอกระบบสุริยะ จะเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งสกปรกที่ไม่มีหาง

Read More

อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B) และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก หากเราเพิ่มแรงให้กับวัตถุมากขึ้นไปอีก เราจะได้วงโคจรเป็นรูปวงรี (D) และถ้าเราออกแรงขว้างวัตถุไปด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที

Read More